A.D. / B.C. / B.E. ย่อมาจาก ค.ศ. พ.ศ. ต่างกันอย่างไร วิธีคิดปี
A.D. / B.C. / B.E. ย่อมาจากอะไร คืออะไร แปลว่าอะไร
ตัวย่อ A.D. ย่อมาจาก Anno Domini ภาษาละติน คือ Anno Domini Nostri Iesu Christi แปลว่า ปีของพระเยซู ใช้สำหรับการนับปี คริสต์ศักราช (ค.ศ.) โดยเริ่มนับปี ค.ศ.1 (A.D. 1) เมื่อพระเยซูมีอายุครบ 1 ปี และใช้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นคริสต์ศักราชใหม่
ตัวย่อ B.C. ย่อมาจาก Before Christ แปลว่า ปีก่อนพระเยซูเกิด เช่น 100 B.C. หมายถึง 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยจะนับย้อนกลับขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึง ตัวเลขหลัง B.C. ยิ่งมากเท่าไร ก็คือยิ่งเก่าแก่กว่าเท่านั้น
ตัวย่อ B.E. ย่อมาจาก Buddhist Era แปลว่า ปีพุทธศักราช (พ.ศ.) โดยประเทศไทยเริ่มนับปี พ.ศ. 1 หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี ต่างจากประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา ที่เริ่มนับปี พ.ศ. 1 ทันทีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ ส่วนประเทศศรีลังกาจะขึ้นศักราชใหม่ในวันวิสาขบูชา
ข้อควรรู้ ปีพุทธศักราช (พ.ศ.) เกิดก่อนปี คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นระยะเวลา 543 ปี ดังนั้น วิธีคิดง่ายๆ เมื่อต้องการแปลงปี พ.ศ เป็นปี ค.ศ คือนำปี พ.ศ. ตั้ง แล้วลบด้วย 543 และเมื่อต้องการเปลี่ยนปี ค.ศ. ให้เป็นปี พ.ศ. ก็นำปี ค.ศ. ตั้ง แล้วบวกด้วย 543 เพียงเท่านี้เอง
สรุป พ.ศ., ค.ศ., A.D. และ B.C. ภาษาอังกฤษ
พุทธศักราช (พ.ศ.):
- เริ่มต้นนับตั้งแต่ปีที่เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้
- ภาษาอังกฤษ: BE (Buddhist Era)
คริสต์ศักราช (ค.ศ.):
- เริ่มต้นนับตั้งแต่ปีที่เชื่อกันว่าพระเยซูคริสต์ประสูติ
- ภาษาอังกฤษ: CE (Common Era) หรือ AD (Anno Domini)
Anno Domini (A.D.):
- แปลว่า “ปีแห่งพระเจ้า”
- ใช้เรียกแทนปีในคริสต์ศักราช
- มักใช้คู่กับ Before Christ (B.C.) ซึ่งแปลว่า “ก่อนคริสตกาล”
การแปลงศักราช:
การแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ.
พ.ศ. – 543 = ค.ศ.
การแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ.
ค.ศ. + 543 = พ.ศ.