สรุป Subject-Verb Agreement คืออะไร มีอะไรบ้าง
Subject-Verb Agreement
Subject-Verb Agreement คืออะไร
Subject-Verb Agreement คือ การใช้คำกริยาให้สอดคล้องกับประธานของประโยค เช่น ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ คำกริยาก็จะต้องเป็นเอกพจน์ด้วย แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ คำกริยาก็จะต้องเป็นพหูพจน์
กฎการใช้ Subject-Verb Agreement
มีกฎวิธีการใช้หลัก ๆ ทั้งหมด 16 ข้อ ดังนี้
1. ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ เช่น he, she, it, Paula, a cat จะใช้คำกริยาเอกพจน์ เช่น is, was, does, has แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ เช่น we, they, Jeff and Jane, dogs จะใช้คำกริยาพหูพจน์ เช่น are, were, do, have
2. ถ้าประธานเป็นเอกพจน เช่น he, she, it, Paula, a cat คำกริยาจะต้องเติม -s หรือ -es แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ เช่น we, they, Jeff and Jane, dogs คำกริยาจะไม่เติม -s หรือ -es
3. ถ้าประธานขึ้นต้นด้วย every, some, no, any และลงท้ายด้วย -body, -thing, -one เช่น everyone, everybody, somebody, something, nothing, anything, anyone เป็นต้น จะถือว่าเป็นประธานเอกพจน์ และต้องใช้คำกริยาเอกพจน์เสมอ
4. ถ้าประธานเชื่อมด้วย and หรือ both … and จะต้องใช้คำกริยาพหูพจน์เสมอ
5. ถ้าประธานเชื่อมด้วย as well as, with, along with, together with, accompanied by ซึ่งแปลว่า “พร้อมด้วย, ด้วยกันกับ” ให้ผันคำกริยาตามประธานตัวแรก
6. ถ้าประธานเชื่อมด้วย or, either … or, neither … nor, not only … but also ให้ผันคำกริยาตามประธานตัวหลัง
7. ถ้าประธานมีคำว่า of ให้ผันคำกริยาตามคำนามที่อยู่หน้า of
8. ประธานที่เชื่อมด้วย a number of (จำนวนมาก) และ the number of (จำนวนของ) ตามด้วยคำนามพหูพจน์เหมือนกัน แต่ a number of จะใช้คำกริยาพหูพจน์ ส่วน the number of จะใช้กับคำกริยาเอกพจน์
9. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย here หรือ there ให้ผันคำกริยาตามประธานที่อยู่หลังคำกริยานั้น ๆ
10. ถ้าประธานเป็นคำที่แสดงค่า หรือปริมาณต่าง ๆ ให้ผันคำกริยาเป็นเอกพจน์เสมอ
11. คำนามบางคำที่เติม -s / -es ให้ผันคำกริยาเป็นเอกพจน์ เช่น ชื่อกีฬา วิชา เพลง หนังสือ และอื่น ๆ เช่น linguistics (ภาษาศาสตร์), physics (วิชาฟิสิกส์), mathematics (คณิตศาสตร์), mechanics (กลศาสตร์), ethics (จริยศาสตร์), athletics (การกีฬา), billiards (กีฬาบิลเลียด), darts (กีฬาปาเป้า), news (ข่าว), mumps (โรคคางทูม), measles (โรคหัด), politics (การเมือง)
12. คำนามบางคำที่เติม -s / -es จะผันคำกริยาเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทที่ใช้ เช่น statistics (สถิติ), tactics (กลยุทธ์), headquarters (สำนักงานใหญ่), means (วิธี), whereabouts (ที่อยู่), summons (การออกหมายเรียก)
13. คำนามบางคำที่แม้ไม่เติม -s / -es ก็ต้องผันคำกริยาเป็นพหูพจน์เสมอ เช่น cattle (วัวควาย), offspring (ลูกหลานของคนและสัตว์), people (คน)
14. คำนามที่มีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกันจะใช้กับคำกริยาเอกพจน์ หรือพหูพจน์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการจะสื่อ เช่น sheep (แกะ), tuna (ปลาทูน่า), trout (ปลาเทราท์), salmon (ปลาแซลมอน), deer (กวาง), moose (กวางมูส), bison (วัวกระทิง), grapefruit (ผลไม้จำพวกส้ม), aircraft (เครื่องบิน)
15. ผันคำกริยาของ Collective Noun เป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์ก็ได้ คำที่เป็น Collective Noun (คำนามที่ใช้แทนกลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ) เช่น family (ครอบครัว), group (กลุ่ม), team (กลุ่ม), board (คณะกรรมการ), committee (คณะกรรมการ), flock (ฝูงสัตว์)
16. ผันคำกริยาตามประธานเสมอ แม้จะมีวลีหรือประโยคที่ขยายประธานก็ตาม