Pronoun คืออะไร สรุปคำสรรพนามภาษาอังกฤษ Grammar พื้นฐานที่ต้องรู้
สรุป Pronoun คำสรรพนาม
- Pronoun คืออะไร
- Pronoun มีกี่ประเภท แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
- สรุป Pronoun 8 ประเภท
- 1. Personal Pronoun (สรรพนามแทนบุคคล)
- 2. Possessive Pronoun (สรรพนามเจ้าของ)
- 3. Reflexive Pronoun (สรรพนามเน้นตัวเอง)
- 4. Definite Pronoun (สรรพนามชี้เฉพาะ)
- 5. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ)
- 6. Interrogative Pronoun (สรรพนามคำถาม)
- 7. Relative Pronoun (สรรพนามเชื่อมความ)
- 8. Distributive Pronoun (สรรพนามแบ่งแยก)
Pronoun คืออะไร
Pronoun คือ คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำนามเพื่อเลี่ยงการใช้คำนามนั้น ๆ ซ้ำมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม หรือสิ่งใดก็ตาม
การใช้ภาษาอังกฤษให้เป็นธรรมชาติ วิธีการอย่างหนึ่งก็คือการเลือกใช้ pronoun หรือคำสรรพนามภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ไม่ต้องพูดถึง Noun (คำนาม) คำใดคำหนึ่งซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง โดยในภาษาอังกฤษจะมีการใช้คำสรรพนามหรือ pronoun แทนการใช้คำนามที่ได้กล่าวไปแล้ว ตัวอย่างเช่น
I have a pen. It is red. หมายถึง ฉันมีปากกา มันเป็นสีแดง ในที่นี้เราใช้ pronoun (คำสรรพนาม) “it” แทน noun (คำนาม) “pen” เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดคำว่า pen ซ้ำบ่อย ๆ นั่นเอง
Pronoun มีกี่ประเภท แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
แกรมม่า หรือหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammar) สามารถแบ่ง Pronoun (คำสรรพนาม) ออกเป็นหลากหลายประเภท โดยเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษที่ต้องทำความรู้จักคือ การแบ่งคำสรรพนาม (Pronoun) ตามหน้าที่ ดังตารางสรุป Pronoun ต่อไปนี้
1. Subject Pronoun
Subject Pronoun คือ คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค มี 7 คำ คือ I (ฉัน), you (คุณ / พวกคุณ), we (พวกเรา), they (พวกเขา), he (เขาผู้ชาย), she (หล่อนผู้หญิง) และ it (มัน) โดยคำสรรพนามประเภทนี้จะอยู่หน้า Verb (คำกริยา) ของประโยค ตัวอย่างประโยค เช่น
- He is my friend. เขาคือเพื่อนของฉัน
2. Object Pronoun
Object Pronoun คือ คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค มี 7 คำโดยอิงตามกันมา คือ me (ฉัน), you (คุณ / พวกคุณ), us (พวกเรา), them (พวกเขา), him (เขาผู้ชาย), her (หล่อนผู้หญิง) และ it (มัน) โดยตำแหน่งของ Object Pronoun จะอยู่หลัง Verb (คำกริยา) ของประโยค ตัวอย่างประโยค เช่น
- He will meet me this evening.
3. Possessive Adjective
Possessive Adjective คือ คำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ มี 7 คำโดยอิงตามที่ได้พูดถึงไปแล้วข้างบน คือ my (ของฉัน), your (ของคุณ / ของพวกคุณ), our (ของพวกเรา), their (ของพวกเขา), his (ของเขา), her (ของหล่อน) และ its (ของมัน) โดยจะมี Noun (คำนาม) ตามหลังเสมอ ตัวอย่างประโยค เช่น
- His friend is very tall. เพื่อนของเขาสูงมาก
4. Possessive Pronoun
Possessive Pronoun คือ คำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ ทำหน้าที่เหมือนกับ Possessive Adjective แต่ Possessive Pronoun ไม่ต้องมี Noun (คำนาม) ตามหลัง มี 7 คำเหมือนข้างต้น คือ mine (ของฉัน), yours (ของคุณ / ของพวกคุณ), ours (ของพวกเรา), theirs (ของพวกเขา), his (ของเขา), hers (ของหล่อน) และ its (ของมัน) ตัวอย่างประโยค เช่น
- This car is mine. รถยนต์คันนี้เป็นของฉัน
5. Reflexive Pronoun
Reflexive Pronoun คือ คำสรรพนามสะท้อนตนเอง มักใช้ใน 3 กรณีหลักดังต่อไปนี้ คือ
- ใช้เมื่อประธานและกรรมในประโยคเป็นคนหรือสิ่งเดียวกัน
- ใช้วางหลังคำว่า by เพื่อสื่อความหมายว่าทำกริยานั้นด้วยตัวเอง หรือ คนเดียว โดยสามารถละคำว่า by ได้
- ใช้เมื่อต้องการเน้นย้ำว่าประธานของประโยคทำกริยาเอง ซึ่งถ้าเป็นในกรณีนี้สามารถละ Reflexive Pronoun ได้
Reflexive Pronoun หรือคำสรรพนามสะท้อนตนเอง มี 7 คำตามคำสรรพนาม คือ myself (ตัวฉัน), yourself (ตัวคุณ), yourselves (ตัวพวกคุณ), ourselves (ตัวพวกเรา), themselves (ตัวพวกเขา), himself (ตัวเขา), herself (ตัวหล่อน) และ itself (ตัวมัน) ตัวอย่างประโยค เช่น
- He made himself a cup of hot milk before bed.
สรุป Pronoun 8 ประเภท
การแบ่งประเภท Pronoun สามารถแบ่งออกเป็นได้หลายประเภท ซึ่งตำราไวยากรณ์ภาษาอังกฤษต่าง ๆ จะแบ่งจำนวนประเภทของ Pronoun ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับทฤษฎีที่อ้างอิง ทั้งนี้หากผู้เรียนต้องการลงรายละเอียดให้มากกว่าตารางสรุป Pronoun 5 แบบ ด้านบน สามารถอ่านสรุป Pronoun 8 ประเภท เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้ครับ
1. Personal Pronoun (สรรพนามแทนบุคคล)
คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สามารถแบ่งออกได้ตามตารางสรุป Pronoun
หลักการใช้ Personal Pronoun กลุ่มประธาน I, You, We, They, He, She, It เป็นประธานของประโยค เช่น He is a doctor.
หลักการใช้ Personal Pronoun กลุ่มกรรม me, you, us, them, him, her, it
– เป็นกรรมของกริยา (Verb) เช่น He loves me.
– เป็นกรรมของบุพบท (Preposition) เช่น I’m in love with him.
หลักการใช้ Personal Pronoun กลุ่มคำคุณศัพท์ (Adjective) my, your, our, their, his, her, its คือ วางไว้หน้าคำนาม เนื่องจากคำสรรพนาม (Pronoun) ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็น Adjective (คำคุณศัพท์) แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น His friend is handsome.
2. Possessive Pronoun (สรรพนามเจ้าของ)
Pronoun (คำสรรพนาม) ที่ใช้แทนคำนามเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ โดยหลักการใช้ Possessive Pronoun คือ
– เป็นประธานของประโยค โดยมีการกล่าวถึงคำนั้นมาก่อนแล้ว เช่น He put his bag on the chair but I put mine on the table.
– เป็นส่วนเติมเต็มของประโยคภาษาอังกฤษ โดยมักวางหลัง Verb to be เช่น I love your soup. Mine isn’t as yummy as yours.
– เน้นการแสดงความเป็นเจ้าของ โดยวางหลัง of เช่น He is a friend of mine.
3. Reflexive Pronoun (สรรพนามเน้นตัวเอง)
Pronoun (คำสรรพนาม) ที่เน้นย้ำเกี่ยวกับตัวเอง หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Self-Form of Pronoun มีหลักการใช้ Reflexive Pronoun ดังนี้
– วางหลังประธาน เพื่อเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำสิ่งนั้นเอง เช่น I myself prepared the presentation for the meeting.
– วางหลังกริยา เพื่อเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำเอง เช่น He saw himself in the mirror.
– วางหลังบุพบท (Preposition) เพื่อเป็นกรรมของบุพบท เช่น He always thinks of himself first.
– วางหลัง by เพื่อเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำเพียงลำพัง เช่น He went to school by himself. (เขาไปโรงเรียนเอง)
4. Definite Pronoun (สรรพนามชี้เฉพาะ)
Pronoun (คำสรรพนาม) ที่ใช้แทนคำนามเพื่อเจาะจงว่าคนไหน สิ่งไหน อันไหน โดย Definite Pronoun สามารถเป็นได้ทั้งประธานและกรรมของประโยคภาษาอังกฤษ หลักการใช้ Definite Pronoun มีดังนี้
– This แทนคำนามเอกพจน์ที่อยู่ใกล้ตัว แปลว่า นี่ เช่น This is my car.
– That แทนคำนามเอกพจน์ที่อยู่ไกลตัว แปลว่านั่น, นั้น เช่น That is his car.
– These แทนคำนามพหูพจน์ที่อยู่ใกล้ตัว แปลว่า พวกนี้, เหล่านี้ เช่น These are our cars.
– Those แทนคำนามพหูพจน์ที่อยู่ไกลตัว แปลว่า พวกนั้น, เหล่านั้น เช่น Those are their cars.
– One แทนคำนามเอกพจน์ที่กล่าวถึงเป็นครั้งที่ 2 หมายถึง อันหนึ่ง, ชิ้นหนึ่ง เช่น There are three bags on the table. Which one is yours?
– Ones แทนคำนามพหูพจน์ที่กล่าวถึงเป็นครั้งที่ 2 หมายถึง พวกหนึ่ง, กลุ่มหนึ่ง เช่น There are three books on the shelf. Which ones are yours?
5. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ)
Pronoun (คำสรรพนาม) ที่ใช้แทนคำนามทั่วไป ไม่เจาะจงว่าคนไหน อันไหน สิ่งไหน ตัวอย่างเช่นคำว่า all (ทั้งหมด), anybody (ใครก็ได้), something (บางสิ่ง), any (บางสิ่ง, บางคน), none (ไม่มีใครเลย), everyone (ทุกคน), anyone (ใครก็ได้), some (บางสิ่ง), anything (อะไรก็ได้), someone (บางคน), no one (ไม่มีใคร) โดยหลักการใช้ Indefinite Pronoun คือ
– เป็นประธานของประโยค เช่น Everybody enjoyed the party last night. (ทุกคนสนุกกับงานปาร์ตี้เมื่อคืนนี้)
– เป็นกรรมของกริยา เช่น They searched everywhere for the lost keys, but they couldn’t find them. (พวกเขาดูทุกที่เพื่อหากุญแจที่หายไป แต่ก็ไม่พบ)
6. Interrogative Pronoun (สรรพนามคำถาม)
Pronoun (คำสรรพนาม) ที่ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม ตัวอย่างเช่นคำว่า who (ใคร), whom (ใคร, ผู้ซึ่ง), whose (ของใคร), what (อะไร), which (อันซึ่ง) โดยที่หากมีคำนามตามหลัง Pronoun ชนิดนี้ จะกลายเป็น Adjective clause เช่น
– Where did you leave your keys? เป็น Interrogative Pronoun
– The restaurant where we had dinner last night is known for its delicious seafood. เป็น adjective clause ขยาย noun “restaurant”
หลักการใช้คำสรรพนามประเภท Interrogative Pronoun คือ
– Who ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคคำถาม เมื่อถามถึงบุคคล โดยแปลว่า ใคร เช่น Who is the new student in our class?
– Whom ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค เป็นการถามว่าใคร เช่น Whom did you invite to the party?
– Whose ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคคำถาม เมื่อถามถึงความเป็นเจ้าของ โดยแปลว่า ของใคร เช่น Whose car is parked in front of the house?
– What เป็นได้ทั้งประธานและกรรม แปลว่า อะไร เช่น What is your favorite movie?
– Which เป็นได้ทั้งประธานและกรรม แปลว่า อันไหน ใช้สำหรับถามถึงสัตว์และสิ่งของ เช่น Which book would you like to read first?
7. Relative Pronoun (สรรพนามเชื่อมความ)
Pronoun (คำสรรพนาม) ที่เอาไว้ใช้ขยายประธานหรือกรรมในประโยคให้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งส่วนขยายนี้เรียกว่า Adjective clause หรือ Relative clause ตัวอย่างเช่นคำว่า whose (ซึ่ง … ของ), of which (อันซึ่ง), who (ผู้ซึ่ง), which (อันซึ่ง), whom (ผู้ซึ่ง), that (อันซึ่ง), what (อันที่), as (ซึ่ง) โดยมีหลักการใช้ Relative Pronoun ดังตัวอย่างต่อไปนี้
7.1 Relative Pronoun ที่ต้องตามด้วย Verb ได้แก่ Who (ผู้ซึ่ง), Which (อันซึ่ง), That (อันซึ่ง) โดยที่จะไม่ใช้ which ในการขยายคน เช่น
– The person who helped me yesterday was very kind. (คนที่ช่วยฉันเมื่อวานนี้ใจดีมาก)
– I love the book which I received as a gift. (ฉันชอบหนังสือที่ฉันได้รับเป็นของขวัญ)
– The movie that we watched last night was fantastic. (หนังที่เราดูเมื่อคืนนี้สุดยอดมาก)
7.2 Relative Pronoun ที่ต้องตามด้วย Noun ได้แก่ Whose (ซึ่ง…ของ), Of which (อันซึ่ง) เช่น
– I met a man whose dog won the agility competition. (ฉันได้พบกับชายคนหนึ่งซึ่งสุนัขของเขาชนะการแข่งขันความว่องไว)
– He showed me a painting, the colors of which were vibrant. (เขาให้ฉันดูภาพวาดซึ่งมีสีสันสดใส)
7.3 Relative Pronoun ที่ต้องตามด้วย Subject + Verb ได้แก่ What (ผู้ซึ่ง), Whom (ซึ่ง…ของ)
– I don’t understand what she wants. (ฉันไม่เข้าใจว่าเธอต้องการอะไร)
– He couldn’t figure out whom they were referring to. (เขาไม่รู้ว่าพวกเขาหมายถึงใคร)
8. Distributive Pronoun (สรรพนามแบ่งแยก)
Pronoun (คำสรรพนาม) สรรพนามที่ใช้แทน noun (คำนาม) เพื่อเป็นการแจกแจงหรือหรือแยกแยะสิ่งที่กล่าวออกมาเป็นคน ๆ อัน ๆ ชิ้น ๆ ตัวอย่างเช่นคำว่า each (แต่ละ), either (คนใดคนหนึ่ง, สิ่งใดสิ่งหนึ่ง), neither (ไม่ทั้งสอง) ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ คือ
– Each student must complete their assignment by Friday. (นักเรียนแต่ละคนจะต้องทำงานมอบหมายให้เสร็จภายในวันศุกร์)
– You can choose either the blue or the red shirt. (คุณสามารถเลือกเสื้อสีน้ำเงินหรือสีแดงก็ได้)
– Neither option seems appealing to me. (ไม่มีตัวเลือกไหนที่น่าสนใจสำหรับฉันเลย)