สรุป Participles คืออะไร มีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร
Participles กริยาที่เติม -ing หรือ -ed
Participles คืออะไร
Participles คือ คำกริยาที่เติม -ing หรือ -ed (V.3) ทำหน้าที่ได้หลากหลาย โดย Part of speech ที่มักเจอคือรูปของคำคุณศัพท์ (Adjective) และใช้ในประโยครูป Passive Voice
Participles มีอะไรบ้าง
Participles จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Present Participle และ Past Participle
1. Present Participle
Present Participle คือ คำกริยา (Verb) ที่เติม -ing (V.ing) ซึ่งมีลักษณะการใช้เด่น ๆ 4 แบบ ดังนี้
1.) ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อขยายคำนาม (Noun) โดยคำนามนั้นกระทำกริยาเอง
Present Participle ที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) สามารถอยู่ได้ 3 ตำแหน่ง ดังนี้
* หน้าหรือหลังคำนาม (Noun)
* หลังคำกริยาที่บอกสถานะของประธาน (Verb to be)
* หลังคำกริยาเชื่อม (Linking Verb)
NOTE! คำกริยาที่เติม -ing แต่ไม่ใช่ Present Participle จะเป็น Gerund ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำนาม (Noun)
Gerund สามารถทำหน้าที่ได้แตกต่างกันไปในแต่ละประโยค โดยจะอยู่ได้ 4 ตำแหน่ง ดังนี้
* หน้าคำกริยา (Verb) ทำหน้าที่เป็นประธาน (Subject) ของประโยค
* หลังคำกริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verb) ทำหน้าที่เป็นกรรม (Object)
คำกริยาที่มักตามด้วย Gerund
- admit (ยอมรับ)
- appreciate (ซาบซึ้ง)
- avoid (หลีกเลี่ยง)
- consider (พิจารณา)
- deny (ปฏิเสธ)
- discuss (ถกเถียง)
- enjoy (เพลิดเพลิน)
- escape (หนี)
- finish (เสร็จสิ้น)
- forgive (ให้อภัย)
- involve (เกี่ยวข้อง)
- look forward to (ตั้งตารอ)
- mention (กล่าวถึง)
- mind (รังเกียจ)
- miss (คิดถึง)
* หลังคำบุพบท (Preposition) ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท (Object of Preposition)
* หลังคำกริยาเชื่อม (Linking Verb) ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มประธาน (Subject Complement)
2.) ใช้กับคำกริยาที่แสดงการรับรู้ (Verb of Perception) โดยวางไว้หลังกรรมตรงของคำกริยา เพื่อแสดงให้เห็นว่ากรรมนั้นกำลังทำสิ่งใดอยู่ คำกริยาที่แสดงการรับรู้มีดังนี้
see, look, watch, hear, listen, feel, taste
3.) ใช้กับคำกริยา spend (ใช้เวลา) และ waste (เสียเวลา) เพื่อบอกว่าใช้เวลาหรือเสียเวลาไปกับสิ่งใดหรือการกระทำอะไร
4.) ใช้กับคำกริยา catch (จับได้) และ find (เจอ / พบว่า)
2. Past Participle
Past Participle คือ คำกริยา (Verb) ที่เติม -ed หรือผันเปลี่ยนรูปไปเป็นกริยาช่อง 3 (V.3) ซึ่งมีลักษณะการใช้เด่น ๆ 3 แบบ ดังนี้
1.) ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อขยายคำนาม (Noun) โดยมีความหมายว่า คำนามนั้นถูกกระทำ และมักตามด้วย by เพื่อบอกว่าใครเป็นคนกระทำ
past Participle ที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) สามารถอยู่ได้ 3 ตำแหน่ง ดังนี้
* หน้าหรือหลังคำนาม (Noun)
* หลังคำกริยาที่บอกสถานะของประธาน (Verb to be)
* หลังคำกริยาเชื่อม (Linking Verb)
2.) ใช้ในรูปประโยค Passive Voice ซึ่งโครงสร้างประโยคมีดังนี้
Passive = S + V. to be + V.3
3.) ใช้กับคำกริยา want / have / like + กรรม (Object)
โดยมีความหมายว่าต้องการให้บุคคลอื่นทำบางสิ่งกับกรรม (Object) นั้น ๆ ให้
กลุ่มคำกริยาบอกความรู้สึก เมื่อเติม -ing หรือ -ed (V.3) แล้วจะมีความหมายต่างกัน เช่น
- amaze
- amuse
- annoy
- bore
- confuse
- excite
- interest
- please
- surprise
- tire